top of page

รัฐบาลไทยเร่งตรวจสอบขยะแคดเมียม 15,000 ตัน



ช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีการตรวจสอบพบกากแคดเมียมในจังหวัดตาก ถูกขุดขึ้นมาและมีการเคลื่อนย้ายจำนวนกว่า 15,000 ตัน


กากแคดเมียมนี้ได้คาดว่าเกิดจากธุรกิจเหมืองแร่สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง ของบริษัทในจังหวัดตาก ซึ่งได้ปิดกิจการไปแล้วตั้งแต่ปี 2559


โดยในปี 2560 ได้มีการขออนุญาตขนย้ายกากแคดเมียม เป็นจำนวนทั้งหมด 15,000 ตัน และในปี 2566 ได้ขนย้ายกากแคดเมียม กากสังกะสี ออกจากโรงงานเพื่อนำไปใช้ในการประกอบกิจการหลอมหล่ออลูมิเนียมแท่ง อลูมิเนียมเม็ดจากเศษอลูมิเนียม และตะกรันอลูมิเนียม (SCRAP AND DROSS) โดยเริ่มขนย้ายตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2566 รวมแล้วกว่า 13,450 ตัน [1]


โดยจากการตรวจสอบพบกากแคดเมียมแล้วดังนี้ [2]

1.       บริษัท A ในตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 3,040 ตัน

2.       โกดังในพื้นที่ตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 4,391 ตัน

3.       บริษัท B ในตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 1,034 ตัน

4.       โกดังในพื้นที่ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 500 ตัน  [3]

และยังคงจะต้องที่จะต้องดำเนินการค้นหากากแคดเมียมที่เหลือต่อไป เพื่อส่งกลับไปฝังกลบที่หลุมฝังกลบที่จังหวัดตาก


ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมทั้งทบทวนระบบการกำกับติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรมว่ายังดีพอหรือไม่ [2] ส่วนทางส.ส. ฝ่ายค้านได้มีการเสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมทบทวนระบบกำกับการจัดการของเสียและน้ำเสียของอุตสาหกรรมทั้งระบบ รวมถึงเร่งรัดการออกกฎหมาย PRTR เพื่อเปิดเผยข้อมูลมลพิษให้ประชาชนได้ทราบ [4]


โดยความผิดในฐานครอบครองกากแร่ที่มีการปนเปื้อนของสังกะสีและแคดเมียม ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย จะมีโทษจำคุก 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


อ้างอิง

bottom of page