top of page

ศาลพิพากษา โครงการโรงไฟฟ้าขยะไม่ต้องทำ EIA ชี้มาตรการที่มีอยู่เพียงพอ

อัปเดตเมื่อ 30 ส.ค. 2565



ศาลปกครองยกฟ้อง คดีที่ มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) เครือข่ายภาคประชาชน ฟ้องถอนประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฯ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2558 ที่ละเว้นการจัดทำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) แก่โรงไฟฟ้าขยะ ชี้ปัจจุบันมีมาตรการด้านการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อม (CoP) ที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชมอยู่แล้ว


มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และเครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ 7 จังหวัด (ปทุมธานี ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และสระบุรี) ได้ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว. ทส.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (คกก. สวล.) ต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 โดยขอให้ศาลสั่งเพิกถอนประกาศ ทส. ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลยกเว้นให้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงทุกขนาดไม่ต้องจัดทำ EIA เนื่องจากเป็นประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จุดประสงค์ของการฟ้องคราวนี้ คือเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ทั้งยังป้องกันการลิดรอนสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย


วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ศาลปกครองสูงสุดได้มีพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว โดยระบุว่า ประกาศดังกล่าวเป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีการกำหนดให้โรงไฟฟ้าขยะต้องดำเนินการตาม CoP ของ กกพ. ซึ่งเป็นกลไกที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและ สิทธิการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชนอยู่แล้ว ประกาศดังกล่าวจึงเป็นเพียงการเปลี่ยนจากการใช้มาตรการ EIA มาเป็น CoP


ทนายความผู้ฟ้องกล่าวทิ้งท้ายว่า หลังจากนี้ ผู้ฟ้องจะหารือกันว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร คาดว่าจะมีการอุทธรณ์คำพิพากษา เพื่อยืนยันว่าการก่อตั้งโรงไฟฟ้าขยะขนาดใหญ่ต้องกลับมาทำโดยผ่านกระบวนการ EIA ซึ่งมีความรัดกุมและรอบคอบกว่ามาตรการ CoP


อ้างอิง (ลิงค์ไปยังเว็บไซต์) :

bottom of page