top of page

อธิบดีกรมโรงงานฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม



เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2566 [1] อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบติดตามการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในบ่อดินเก่าของเอกชน ในพื้นที่ตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

จากการลงพื้นที่ พบการนำกากอุตสาหกรรมที่เป็นของเสียเคมีบรรจุในถังเหล็กขนาด 200 ลิตร ประมาณ 300-400 ถัง มาลักลอบทิ้งไว้ตั้งแต่ปี 2564 และตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังตรวจพบซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมบดผสมกับเนื้อดิน อธิบดีกรมโรงงานฯ จึงได้ออกคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องนำกากอุตสาหกรรมไปบำบัดหรือกำจัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเร็วที่สุด และเข้าแจ้งความเพื่อเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง


จากนั้นในวันที่ 18 เมษายน 2566 [2] อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณพื้นที่ป่าด้านหลัง บริษัท เอกอุทัย จำกัด ที่ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อติดตามการลักลอบฝังกลบ และกักเก็บกากอุตสาหกรรม

พบว่ามีการครอบครองของเสียอันตราย ของเสียเคมีวัตถุ และของเสียอื่น ภายในอาคารจำนวน 3 หลัง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้เข้าเก็บตัวอย่างของเสียไปทดสอบ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 [3] ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่าของเสียดังกล่าวจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3


อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ยึดอายัดของเสียอันตรายทั้งหมด เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้าย ซึ่งประกอบด้วย น้ำมันใช้แล้ว เถ้า เศษตะกอน น้ำเสียปนเปื้อนน้ำมัน กากสี เรซิ่นดูดซับ และกากเจล บรรจุในถังขนาด 200 ลิตร จำนวน 503 ถัง รวมทั้งของเสียของแข็งและตะกอนดินปนเปื้อน 36 ตัน ถังเปล่าปนเปื้อน 2 ถัง พาเลทไม้ 39 ชิ้น ตะกอนในบ่อซีเมนต์ 315.35 ลูกบาศก์เมตร และหลอดนีออน 460 หลอด จากนั้นจึงรวบรวมพยานหลักฐานฟ้องดำเนินคดีกับบริษัท เอกอุทัย จำกัด และดำเนินการสืบสวนเพื่อหาการกระทำความผิดในกรณีอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป



อ้างอิง

留言


bottom of page