กรมโรงงานอุตสาหกรรม เดินหน้ารับฟังความคิดเห็น เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการนำร่องในการผลิตสารละลายไบโอโซเดียมซิลิเกตและไบโอโพแทสเซียมซิลิเกตจากขี้เถ้าแกลบภายใต้แนวคิดการสิ้นสุดความเป็นของเสีย
จากที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ลงนามความร่วมมือร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครกงารตามแนวคิดการสิ้นสุดการเป็นของเสีย (End of Waste) เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 [1] กรอ. ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและพันธมิตรภาคเอกชนเปิดตัวโครงการ Provision of services for studying and preparing the end-of-waste criteria for rice husk ash and demonstrate the production of products from rice husk ash เพื่อศึกษาแนวทางการผลิตสารละลายไบโอโซเดียมซิลิเกตและไบโอโพแทสเซียมซิลิเกตอย่างยั่งยืนจากขี้เถ้าแกลบ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 [2] และได้จัดการประชุมเพื่อรายงานความคืบหน้าของโครงการครั้งที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 โดยได้รายงานผลการวิเคราะห์ และผลิตไบโอโซเดียมซิลิเกตในระดับห้องปฏิบัติการในที่ประชุม [3]
(รายละเอียดความคืบหน้าโครงการนำร่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง: https://www.exri.co.th/post/ความคืบหน้าโครงการการพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสียสำหรับแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว?lang=th )
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 กรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น และคำแนะนำจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านวัสดุศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปพัฒนาโครงการ นำไปสู่สู่การผลักดันการสิ้นสุดความเป็นของเสีย (End-of-waste) ของขี้เถ้าแกลบ โดยโครงการนี้ กรอ. มุ่งหวังที่จะนำไปใช้งานจริง และต่อยอดพัฒนางานวิจัยสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ รวมไปถึงการพัฒนาและปฏิรูปมาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำขี้เถ้าแกลบไปใช้เป็นวัตถุดิบทุติยภูมิ [4]
ที่มา:
Comments