top of page

4 แนวทางเร่งเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ



นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม ESG Symposium 2023 [1] เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 และรับฟังข้อเสนอจากการระดมความคิดบนเวทีเสวนา เรื่อง “4 แนวทางในการเร่งเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” โดยมีเป้าหมายที่จะบรรลุ Net-Zero ภายในปี 2065 ซึ่งเป็นข้อเสนอเพื่อเร่งการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำในประเทศไทย และแสดงความเชื่อมั่นที่จะช่วยเหลือโลก ด้วยการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG strategy)

ข้อเสนอที่ยื่นต่อนายกรัฐมนตรีจัดทำโดยภาคเอกชนและภาครัฐ เช่น สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และหน่วยงานอื่นๆ โดยมี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่

  1. สร้าง “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox)” ให้เป็นเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมสีเขียว เกษตรยั่งยืน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

  2. เร่งผลักดันระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นวาระแห่งชาติ สร้างมูลค่าให้กับวัสดุรีไซเคิล โดยขณะนี้มี 3 อุตสาหกรรมต้นแบบแล้ว คือ บรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ ก่อสร้าง

  3. เปลี่ยนสู่พลังงานสะอาดและยั่งยืน ปลดล็อกข้อจำกัด เปิดเสรีซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดด้วย และพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)

  4. ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ เพิ่มโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีการลดคาร์บอนและแหล่งเงินทุนด้านสิ่งแวดล้อม

นายกรัฐมนตรีประทับใจในข้อเสนอดังกล่าว พร้อมกับเน้นย้ำว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นหลักในการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ (1) การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (2) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศสำหรับทุกคน และ (3) การส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยพร้อมรับมือกับวิกฤติสิ่งแวดล้อม และได้ตระหนักถึงความสำคัญของเมืองคาร์บอนต่ำ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย และเศรษฐกิจผ่านความร่วมมือทุกภาคส่วน



แหล่งที่มา:


1 view
bottom of page