การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC) ว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP27) จะจัดขึ้นวันที่ 3-18 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ณ เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณัฐอาหรับอียิปต์ โดยประเทศไทยจะประกาศจุดยืนร่วมมือประชาคมโลกควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส ในปี ค.ศ. 2100 (พ.ศ. 2643) ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)
ประเทศไทยได้จัดทำและปรับปรุงเอกสารยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (Long Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy, LT-LEDS) และการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (National Determined Contribution, NDC) แก่ UNFCCC เพื่อยกระดับเป้าหมายของไทย ดังนี้
1. LT-LEDS ฉบับปรับปรุง โดยประเด็นที่แก้ไข เช่น
การลดก๊าซเรือนกระจกสูงสุด ภายในปี ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2573) /เร็วขึ้น 5 ปี จาก ค.ศ. 2030
ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) /เร็วขึ้น 15 ปี จาก ค.ศ. 2065
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) /เร็วขึ้น 35 ปี จาก ค.ศ. 2100 รวมทั้งการระบุประเด็นที่ไทยต้องการรับการสนับสนุนให้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง และความช่วยเหลือในเรื่องการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
2. NDC ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 โดยแก้ไขเป้าหมายตาม LT-LEDS ฉบับปรับปรุง โดยประเด็นที่แก้ไข เช่น
เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 30-40 จากกรณีปกติ ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) /เพิ่มขึ้นจากเป้าหมายเดิม ร้อยละ 20-25*
หมายเหตุ: *จากการประชุม COP26 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าประเทศไทยจะสามารถยกระดับเป้าหมาย NDC จากร้อยละ 20-25 ขึ้นเป็นร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ. 2030 หากได้รับการสนับสนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ
Comments