top of page

CBAM กับตลาดคาร์บอนเครดิต


สหภาพยุโรป (European Union: EU) ได้ประกาศกลไกการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้กรอบนโยบาย European Green Deal โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของสหภาพยุโรปลง 55% ภายในปี 2573 จะเริ่มต้นใช้มาตรการกับสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอน ได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า และอลูมิเนียม และไฮโดรเจน ในวันที่ 1 ตุลาคม 2573 และเริ่มใช้มาตรการอย่างเต็มรูปแบบในเดือนมกราคม 2569 เป็นต้นไป [1]


จากการดำเนินการตามมาตรการ CBAM ทำให้ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Embedded Emission) ของผลิตภัณฑ์ รวมถึงจะต้องจ่ายค่าการปล่อยคาร์บอน หากว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามผู้นำเข้าจะมีโอกาสเรียกร้องให้ลดค่าภาษีลง ถ้ามีการจ่ายค่าธรรมเนียมชดเชยคาร์บอนในประเทศต้นกำเนิดสินค้าแล้ว[2] ดังนั้นการใช้มาตรการดังกล่าวนำไปสู่การชดเชย และซื้อขายคาร์บอน ผ่านตลาดคาร์บอนเครดิตที่มีแพลตฟอร์มกลางในการเสนอขายและต่อรองราคาซื้อกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมไปถึงแพลตฟอร์มของสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ด้วย


จากการสำรวจตลาดขายคาร์บอนเครดิตของ UNFCCC พบว่าโครงการต่างๆ จะต้องผ่านการรับรองความสามารถการลดก๊าซเรือนกระจก หรือ Certified Emission Reductions (CERs) พร้อมทั้งจะต้องแสดงข้อมูลโครงการ, ราคา และปริมาณคาร์บอนเครดิตที่มีจำหน่าย โดยโครงการที่มีราคาสูงที่สุด เป็นโครงการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในครัวเรือน (EE household) ที่มีราคาสูงถึง 25 ดอลลาร์/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า [3]


อ้างอิง


Commentaires


bottom of page