สืบเนื่องจากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และเจตจำนงของประเทศไทย ในลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน และเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 ส่งผลให้บริษัทธุรกิจเอกชนหลายแห่ง ต้องกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานขอบริษัทให้สอดคล้องกับนโยบายแห่งชาติ เนื่องจากส่งผลกระทบโดยตรงต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจ และอุตสาหกรรมในประเทศไทย รวมถึงไปถึงการดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่กำลังเปลี่ยนไปสู่ “การใช้พลังงานสะอาด” โดยเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและแหล่งพลังงานใหม่ที่มีคาร์บอนต่ำ ในการรักษาเสถียรภาพของการผลิตไฟฟ้า
ไฮโดรเจน แม้ว่าข้อจำกัดในด้านด้านต้นทุนการผลิตที่สูง และไม่นิยมนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีหลักในการผลิตไฟฟ้า แต่ก็เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่สามารถเพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้าได้ดี ไฮโดรเจนสามารถแบ่งออกเป็นสีต่าง ๆ ตามแหล่งที่มา และเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต เช่น (1) ไฮโดรเจนสีเทาที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ (2) ไฮโดรเจนสีน้ำเงินที่จะเพิ่มเทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามา (CCS) หรือ (3) ไฮโดรเจนสีเขียว ที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน เป็นไฮโดรเจนสะอาดที่ไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
การศึกษาประเภทต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในการผลิตไฟฟ้ากำลังดำเนินการศึกษาอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น การเพิ่มเสถียรภาพของการผลิตพลังงานโดยใช้ไฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงานสำรอง ความเป็นไปได้ในการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนผสมในโรงไฟฟ้าถ่านหินโดยชดเชยต้นทุนการผลิตด้วยคาร์บอนเครดิต และภายในอีกไม่กี่ปีหลังจากนี้ ประเทศไทยอาจมีมาตรการส่งเสริมการใช้ไฮโดรเจนออกมา จากข่าวล่าสุดกล่าวว่าสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เตรียมตั้งเป้าใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า 20% ในแผนพัฒนาไฟฟ้าฉบับใหม่ (PDP)
บทความที่เกี่ยวข้อง: https://www.exri.co.th/post/สนพ-เตรียมเสนอ-5-นโยบายพลังงาน-ต่อรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา
Comments