top of page

พลังงานทดแทนมุ่งสู่ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย



กระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ส่งผลให้การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมั่นคง


1. ระบบหักลบหน่วยไฟฟ้า (Net Metering) ในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ภาคประชาชน

ระบบหักลบหน่วยไฟฟ้า (Net Metering) คือ กลไกการเรียกเก็บเงินรูปแบบหนึ่ง ที่ให้เครดิตแก่ครัวเรือนที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) หากครัวเรือนสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าปริมาณที่ใช้ จะสามารถส่งพลังงานส่วนเกินกลับไปยังระบบกริดได้ และจะถูกเรียกเก็บเงินเฉพาะการใช้พลังงานสุทธิเท่านั้น


เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2566 การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) และ ผลการศึกษาระบบหักลบหน่วยไฟฟ้า (Net Metering) จากผลการศึกษาสรุปว่าประเทศไทยนั้นยังไม่สามารถยังไม่สามารถใช้ระบบ Net Metering ได้เนื่องจาก


(1) ด้านระเบียบและข้อกฎหมาย เนื่องจากเป็นการทำธุรกรรมซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประชาชนและการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ซึ่งยังไม่มีระเบียบและข้อกฎหมายรองรับ

(2) ด้านเทคนิคและวิธีการที่เกี่ยวข้อง อาจจะส่งผลความถี่ในระบบ เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์มีความผันผวนและไม่แน่นอน

(3) ด้านผลกระทบต่อประเทศและประชาชนโดยรวม ค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนประกอบด้วยอัตราค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) ซึ่งขึ้นอยู่กับต้นทุนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการรับซื้อไฟฟ้าก็จะส่งผลให้ค่า Ft สูงขึ้น ทำให้ให้ผู้ใช้ไฟซื้อไฟที่ไม่ได้ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์จะต้องจ่ายค่าไฟในราคาที่สูงขึ้น


ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ระบบหักลบหน่วยไฟฟ้า (Net Metering) จึงยังไม่เหมาะสมที่จะใช้งานในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาช คณะรัฐมนตรี จึงอนุญาตให้ประชาชนขายไฟฟ้าส่วนเกินให้แก่การไฟฟ้า ในอัตรา 2.20 บาท เช่นเดิม


2. การผลตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขนาดเล็ก

พลังงานน้ำขนาดเล็กเป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพื่อเสริมระบบความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว เนื่องจากพลังงานน้ำไม่มีต้นทุนด้านเชื้อเพลิง และน้ำก็ยังสามารถกลับมาใช้ได้ต่อเนื่อง โดยปัจจุบันกระทรวงพลังงานได้ดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก 26 โครงการ รวมกำลังผลิต 77,285 กิโลวัตต์ และโครงการที่จะดำเนินการก่อสร้าง ในปี 2568 - 2570 อีก 3 โครงการ รวมกำลังผลิต 2,456 กิโลวัตต์


นอกจากนี้กระทรวงพลังงานยังมีแผนที่จะดำเนินโครงการระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำกับพลังน้ำ (โซลาร์ลอยน้ำ Floating Solar Farm) ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กของกระทรวงพลังงานทั้ง 9 แห่ง รวมกำลังผลิต 63.43 เมกะวัตต์ (MW) ภายในปี 2573 ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการของบประมาณ




ที่มา:


Comments


bottom of page