วันที่ 29 มีนาคม 2567 อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานด้านนิเวศและมลพิษอุตสาหกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผู้แทนจากกรมควบคุมมลพิษ คณะนักวิจัย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการวิจัย “การยกระดับระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม และก๊าซเรือนกระจกด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
โครงการวิจัย “การยกระดับระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม และก๊าซเรือนกระจกด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม โดยนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรมมาวิเคราะห์และแสดงผลบน Digital Waste Platform ที่มีความสะดวกและรวดเร็ว สามารถมองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจน ทั้งในด้านเชิงปริมาณและในเชิงพื้นที่ ช่วยในการพิจารณาวางแผนหรือดำเนินนโยบายต่างๆ ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม
โดยการประชุมสัมมนาในวันนี้ เป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโครงการ พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทดลองใช้งานระบบ Digital Waste Platform เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคณะนักวิจัยในการปรับปรุงและต่อยอดการใช้งานระบบต่อไป
ระบบ Digital Waste Platform จะทำหน้าที่ประมวลและแสดงผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกากอุตสาหกรรม รวมทั้งนำข้อมูลไปประมวลผลโดยกระบวนการ Machine Learning Model (ML) แสดงผลใน 8 หัวข้อ ดังนี้
ฟังก์ชันที่ 1 Industrial Waste Profile พิจารณารหัสของเสียที่ขออนุญาตในแต่ละประเภทอุตสาหกรรม
ฟังก์ชันที่ 2 Waste Distribution พิจารณาจังหวัดที่เป็นแหล่งกำเนิดของเสีย
ฟังก์ชันที่ 3 Waste Disposal Sorting พิจารณาข้อมูลปริมาณของเสียตามวิธีการจัดการ
ฟังก์ชันที่ 4 Annual Waste Generation and Treatment Code พิจารณาข้อมูลปริมาณของเสียในแต่ละปีตามรหัสกำจัด
ฟังก์ชันที่ 5 Annual Waste Generation and Waste Code พิจารณาพิจารณาข้อมูลปริมาณของเสีย (ตัน) แต่ละรหัสที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี
ฟังก์ชันที่ 6 Waste Flow Area-Based พิจารณาปริมาณของเสียที่มีการเข้า-ออก ในแต่ละจังหวัด
ฟังก์ชันที่ 7 WasteSage AI ทางเลือกของการบําบัด/กําจัดของเสียอุตสาหกรรมที่มีการอนุญาตในปัจจุบัน
ฟังก์ชันที่ 8 CarbonSync AI ตัวเลือกวิธีบําบัด/กําจัดของเสียอุตสาหกรรม เพื่อการลดก๊าซเรือนกระจก
Comments